詩。ลูกชายพี่รมณ์ ด.ช ปภิณวิทย์ คำแคว่น โฟโต้




น้องโฟโต้โมโหแล้วนะ


ด.ช ปภิณวิทย์ คำแคว่น โฟโต้

ม1/13

นาย พิทักษ์ คำคว่น

นาย พิทักษ์  คำคว่น

30/7/51

บทที่4

บทที่4
สื่อการสอนวัสดุอุปกรณ์

หรือวิธีการใดๆที่ครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือเชื่อมในการถ่ายทอด ความรู้ ทัศนคติ
ทักษะประกอบการณ์ไปสู่ผู้เรียนคุณค่าของสื่อ

1.คุณค่าด้านวิชาการ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยประสาทสัมพัสทั้ง5

2.คุณค่าทางด้านจิตวิทยาการรับรู้ สื่อเป็นศูนย์ความสนใจของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนมีความสนใจมากขึ้น

3.คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าได้เร็วและมากขึ้นประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจคุณสมบัติของสื่อ

1.สามารถจัดยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วไว้ได้

2.สามารถจัด แจกแจง ปรุงแต่งประสบการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียน

3.สามารถจำแนก และขยายจำนวนของสื่อเป็นหลายฉบับเพื่อเผยแพร่สู่ผู้เรียนจำนวนมากประเภทของสื่อ

1.วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือเบา บางทีนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์ มีคุณค่าต่อผู้การเรียนรู้มาก เนื่องจากสื่อวัสดุประเภทนี้สามารถเก็บความรู้ได้

2.อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่หรือสิ่งหนักบางทีนิยมเรียนว่า ฮาร์ดแวร์ โดยทั่วไปประกอบด้วยเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์

3.วิธีการเทคนิคกิจกรรม เป็นสื่อที่ความหมายกว้างคอบคุมสื่ออื่นๆด้วยสื่อประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายๆด้านการจำแนกตามแบบของสื่อ

1.สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในรูปแบบของตัวหนังสือและรูปภาพซึ่งอาจเป็นภาพสี ภาพขาวดำ หรือรายเส้น

2.วัสดุกราฟิก เป็นสื่อที่แสดงเนื้อหาด้วยรูปภาพ

3.เครื่องฉาย เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาด้วยข้อความและรูปภาพ แล้วนำเสนอบนเครื่องฉาย

4.วัสดุทอดเสียง เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาด้วยเสียงได้แก่ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียงหลักการเลือกใช้สื่อการสอนการเลือก ครูต้องมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายชองบทบาท ความมุ่งหมายของการใช้ ลักษณะและธรรมชาติของสื่อการสอนแต่ละชนิด และมีความรู้เกี่ยวกับสื่อ

1. เลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

2. เลือกใช้สื่อตามลำดับคุณค่าของสื่อแต่ละชนิด สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในการเก็บรักษาเนื้อหาความรู้การแสดงและใช้งานต่างกันเลือกใช้สื่อตามขนาดของผู้เรียน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยต่างกันจากการใช้สื่อการเรียนการสอนคือ ขนาดของกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาว่าผู้เรียนมีจำนวนเท่าใด เป็นรายบุคคล หรือกลุ่มใหญ่ ประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนการเตรียมการเลือกการใช้สื่อการสอนมักจะกระทำหลังจากที่เลือกสื่อได้แล้ว เช่น การเตรียมครู การเตรียมผู้เรียนการเตรียมชั้นเรียนการเตรียมครู ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม บันทึกข้อที่จะสอนไว้ตามลำดับ พิจารณาคุณค่า และวัตถุประสงค์การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ จัดให้ผู้เรียนนั่งให้เหมาะสมกับการใช้สื่อแต่ละประเภท อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะมีกิจกรรมอะไร ผู้เรียนควรทราบล่วงหน้า และควรสังเกตอะไรในขณะเรียนการเตรียมชั้นเรียน ได้แก่ เป็นการนำที่ได้เลือกและเตรียมไว้แล้วใช้ประกอบการเรียนการสอนต่อหน้าผู้เรียนการใช้สื่อการสอนให้ได้ผลดีให้เริ่มต้นการนำอุปกรณ์ออกมาใช้ตามกำหนดไว้ทันทีข้อดีและข้อจำกัดสื่อการสอนสื่อการสอนประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องฉายสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ ตำรา คู่มือ
พบกับ บท ต่อไปได้เลยนะครับ
สวัสดี ครับ พี่น้อง

บทที่ 5

บทที่ ๕
บทที่ 5สื่อการสอนประเภทวัสดุสื่อการสอนประเภทวัสดุ


เป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอน
ประเภทวัสดุคำว่า “วัสดุ” ตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุ
หมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาสื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง
เช่น ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ
กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดี บางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง
แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า
“สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหา
และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหา
และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ2 มิติ
รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือสื่อวัสดุ3 มิติ
เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น
หุ่นจำลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและ
ประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อวัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิก
ได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์2. คุณค่าของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ

2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ

สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากกมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร

3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกคือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการ

ฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้

4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีคือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน

5. การออกแบบวัสดุกราฟิกคือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและ
วัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ

6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก

7. ประเภทของวัสดุกราฟิก

7.1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
7.1.1 แผนภูมิต้นไม้
7.1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
7.13 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
7.1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
7.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
7..1.6 แผนภูมิแบบตาราง
7.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
7.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
7.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
7.2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
7.2.1 .2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
7.2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
7.2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
7.2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
7.3 แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
7.4 ภาพพลิก
7.5 ภาพชุด
7.6 แผนภาพ
7.7 ภาพโฆษณา
7.8 แผนโปร่งใสสื่อวัสดุ
3 มิติ1. ความหมายของสื่อวัสดุ3 มิติหมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก

2. ประเภทของสื่อวัสดุ3 มิติ

2.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้

2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง 5

2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว

2.4 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์

1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์

2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
2.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
2.3 แผ่นซีดี
2.4 แผ่นวีซีดี
2.5 แผ่นดีวีดี
2.6 แผ่นเอสวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง

บทที่ 6

บทที่ 6
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์เครื่องฉาย


เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น กระตุ้นความสนใจได้ดีส่วนประกอบของเครื่องฉาย

1.หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ให้ภาพไปปรากฏบนจอ

2.แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอกฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่า

3.วัสดุฉาย เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ วัสดุฉายต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นได้ชัดเจน

4.เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกใส มีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบกับเลนส์ ทำให้ภาพถูกขยายเลนส์

5.จอ เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆประเภทของเครื่องฉาย

1.เครื่องฉายข้ามศีรษะ-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบทั่วๆไป-เครื่องฉายข้ามศีรษะ
แบบสะท้อนจากกระจกเงาด้านล่าง-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบพับเก็บได้

2.เครื่องฉายสไลด์-เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา ควบคุมโดยผู้ใช้งานตลอกเวลา-เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ

3.เครื่องฉายแอลซีดี มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย

4.เครื่องดีแอลพี มีความคมชดสูงกว่าแอลซีดีเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูล
จากวัสดุและแปลงสัณญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัณญาณและเสียงประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณ

1.เครื่องวิชวลเลเซอร์ ฉายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

2.เครื่องเล่นวีดีทัศน์ แปลงสัณญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัณญาณภาพและเสียง

3.เครื่องเล่นวีซีดี

4.เครื่องเล่นดีวีดีเครื่องเสียง

1.แหล่งกำเนิดเสียงเสียง sound เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออก
ไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหู จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนราบงานผ่านไปยังสมองทำให้
ได้ยินเสียงแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุเมื่อถูกดีด สี ตี เป่า เคาะ เสียงจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำไหล ฟ้าร้อง ลมพัด

2.ส่วนประกอบของการขยายเสียงภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟนภาคขยายเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียงภาคสัญญาณออก เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง

3.ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

4.เครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา

5.ลำโพง

บทที่ 7

<<บทที่ ๗ >>

บทที่ 7 เรื่อง สื่อการสอนประเภทกิจกรรมสื่อกิจกรรม

หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง
ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน
กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน
น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ
อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี

1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม

2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ

3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง

4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้

5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ

6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้

7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด

8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่จะนำเสนอในหน่วยการเรียนนี้มี 6 ชนิด คือ

1. นิทรรศการ (Exhibition)
2. นาฏการ (Dramatization)

3. การสาธิต (Demonstration)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)

5. สถานการณ์จำลอง (Simulation) 6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)

บทที่8

บทที่8 สื่อการสอนประเภทวัสดุ ความหมายของวัสดุกราฟิก

วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมาย
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ
สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)
และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก
1. ราคาถูก

2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง

4. เก็บรักษาง่าย

5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้

ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้

1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน

2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว

3. ประหยัดเวลา

4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น

5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน

6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้นลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี

วัสดุกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ

2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน

3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ

4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ

5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม

บทที่9

บทที่9 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์การป้อนข้อมูล ส่วนที่นำข้อมูลต่างๆป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์

ด้วยการพิมพ์ การประมวลผล ส่วนของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทั้งหลายที่ป้อนเข้าการแสดงผล

ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้ว ออกมาแสดงให้เห็นเป็นลักษณะต่างๆคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อการเรียนการสอน

รูปแบบหนึ่งที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนคุณค่าของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนในแง่ของกราฟิกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์

สารสนเทศความแตกต่างการโต้ตอบการเป็นผลย้อนกลับทันทีประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทเรียนแบบฝึกหัดแบบจำลองเกมทางการศึกษาเทคนิคแบบทดสอบการไต่ตามการแก้ปัญหาแบบวิธีต่างๆ

ที่เข้าใจอินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่ เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก

โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริการการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปแล้ว

หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาจะทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้เรียน

บทที่ 10

บทที่ ๑0 จ้า การผลิตงานกราฟิก

งานพื้นฐานสำหรับการผลิตสื่อที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียนส่วนใหญ่ของประเทศไทยในขณะนี้ ได้แก่งานกราฟิก

ส่วนประกอบของงานกราฟิกที่สำคัญมี 2 อย่าง

ได้แก่ ตัวอักษร และรูปภาพ วัสดุที่ใช้ในการผลิต

1. กระดาษ กระดาษเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดในการออกแบบโดยการขีดเขียนด้วยมือโดยตรง เช่น กระดาษ สี ดินสอ ปากกา และอื่นๆ
1.1 กระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อไม้หลายชนิด ชึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยทั่วไปจะใช้ในงานโฆษณา
1.2 กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับการทำบัตร แผนที่แผนที่ พื้นภาพผนึก
1.3 กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษที่มีความหนาหลายขนาด เช่น 80 ปอนด์ 100ปอนด์ เหมาะกับการวาดภาพด้วยดินสอ ปากกา และสี
1.4 กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษที่มีผิวมันเรียบ โดยทั่วไปเป็นสีอ่อนทั้งสองด้าน เช่น สีเหลืองอ่อน ฟ้า ชมฟูอ่อน
1.5 กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษที่มีสีขาวที่มีว่างจำหน่ายในตลาดมักจะเป็น 100 ปอนด์
1.6 กระดาษลูกฟูก เป็นกระดาษที่มีความหนามาก โดยสร้างตรงกลางเป็นลูกฟูกประกบและด้านหลังเป็นกระดาษผิวเรียบ

2. สี สีที่ใช้ในงานกราฟิกมีหลายชนิด สามารถจำแนกได้หลายวิธีคือ จำแนกตามคุณสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม จำแนกตามลักษณะการใช้งาน

หนุ่มเหนือ

หนุ่มเหนือ

คนนี้หัวใจ บอกยอม ครับ

คนนี้หัวใจ บอกยอม ครับ
คุณครู วิวรรธน์